วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555



หน่วยการเรียนรู้ที่ 10

แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

กับการศึกษาหรือการเรียนการสอน
     
          แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

     การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

การศึกษาในอนาคต
 นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
         ท่ามกลางพลวัตรของสังคมในปัจจุบันบวกกับกระแสแนวโน้มที่จะมาถึงนี้ การศึกษาไทยจะดำเนินยุทธศาสตร์เดิมๆ อีกไม่ได้ นั่นหมายความว่า สังคมไทยกำลังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต แนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคตที่หลายประเทศให้ความสำคัญ มักจะเน้นไปที่รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ และเศรษฐกิจการแข่ง ขัน รวมไปถึงแนวโน้มการเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) แต่สำหรับประเทศไทยยัง คลุมเครือเพราะอยู่ระหว่างเลือกว่าจะเดินหน้าหรือถอยหลัง!!
       จากปัญหาการสอนที่มีช่องว่างระหว่างทักษะกระบวนการคิด และทักษะวุฒิทางอารมณ์ยังไม่มีคุณภาพ ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่มุ่งแข่งขันทำให้การจัดการศึกษามุ่งพัฒนาทางวิชาการเป็นสำคัญ ในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังไม่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของผู้เรียน
      รวมไปถึง การใช้เทคโนโลยีในกิจวัตรประจำวันหรือใช้ในการเรียนการสอนทำให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ลดลง ส่งผลให้ช่องว่างทางอารมณ์ จึงก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวที่นับวันจะรุนแรงขึ้นจนส่งผลให้การพัฒนาเชิงสังคมของเด็กไทยดิ่งลงเหว
      การสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมยังไม่มีคุณภาพ แนวคิดของทุนนิยมที่มุ่งแข่งขันได้แพร่ กระจายไปทั่วโลก ส่งผลผู้ประกอบกับสถาบันการศึกษาจำนวนมากมุ่งพัฒนาความรู้ทางวิชาการ และประเมินผลการเรียนที่ความสามารถทางวิชาการจนอาจละเลยการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม ส่งผลต่อคุณภาพ นักศึกษาจำนวนมากที่ใช้ชีวิตฉันท์สามีภรรยาในสถาบันการศึกษา มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน สู้รบฆ่าฟันต่างสถาบัน เป็นต้น

      แนวโน้มเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมของประเทศไทยยังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่จะเท่าทันต่อแนวโน้มต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่แนวโน้มวิกฤตการณ์ด้านเด็กและเยาวชนที่นับวันดูจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกลายเป็นกระแสเรียกร้องนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่จะไล่ทันต่อแนวโน้มที่ว่า นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
     นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตที่ว่านี้ ควรมีการ รวมพลังมีการออกแบบร่วมกันและจัดการร่วมกันที่ดี มิใช่เพียงมุ่งเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและพลเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นคน อุดมความรู้ คู่ความดีงามและมีทักษะที่หลาก หลายมีความสามารถในการจัดการที่ดี เพื่อเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ในอนาคตข้างหน้า
      เพื่อพัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบ ครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา และสถาบันการศึกษา ตลอดจนเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความ รู้สร้างความตระหนัก สำนึกในคุณค่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงความสมาน ฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย
      พัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข กลุ่มเป้าหมายแรก ได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษาในสถาน ศึกษา 15 ล้านคน เพื่อขยายผลสู่สังคม วงกว้าง โดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของ กระบวนการเรียนรู้ ที่เชื่อมโยงความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันทางการศาสนา และสถาบันการศึกษา ที่กล่าวมาทั้งหมดอาจเป็นการ แก้ปัญหาการศึกษาและสังคมในระยะยาวและยั่งยืน
                -   เทคโนโลยีสารสนเทศลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายการศึกษาที่เป็น การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน” (Education for All)  อันจะเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม (Social Equity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางด้านการศึกษา                 

แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นอย่างไร
1. ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน (Learning resources center) สำหรับการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจะมีแนวโน้มร่วมมือร่วงมือกันจัดตั้งเป็นศูนย์กลางใช้ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียน และเป็นการบริการที่สะดวกสบาย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณและมีสื่อการสอนที่มีคุณภาพและมากพอเพียงกับความต้องการ ส่วนสื่อพื้นฐาน เช่น กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายต่าง ๆ ฯลฯ ก็จะมีประจำอยู่ในห้องเรียนแล้ว ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็จะมีสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยกลางในการผลิตสื่อและให้บริการกับทุกหน่วยงานในสถาบัน ตลอดจนทำการวิจัยและพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
2. ชุดสื่อการสอน (Media package) นักเทคโนโลยีการศึกษาจะผลิตสื่อออกมาเป็นชุดสำเร็จรูปเพื่อสนองตอบความต้องการของครู โดยเน้นเนื้อหาที่ครูส่วนมากสอนนักเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ชุดสื่อสำเร็จรูปประกอบด้วย คำแนะนำในการใช้ประกอบการสอนตัวสื่อ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบตัวสื่อก็จะเป็นลักษณะ สื่อประสม (Multimedia)
4. ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ (Increase utilizing computer) โดยจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์มาใช้ประกอบการสอน มีการผลิตโปรแกรม CAI มากวิชาและมากเนื้อหา เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้นำไปใช้ โดยเฉพาะจะทำเป็นลักษณะ Multimedia นอกจากนี้ในสถาบันการศึกษายังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้นที่เรียกว่า CMI (Computermanagement instruction ) เพื่อความรวดเร็วในการใช้ข้อมูล
5. การผลิตสื่อจากท้องถิ่น (Local medias production) การผลิตสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีความริเริ่มทั้งรูปแบบวัสดุและเน้นประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการสอน
6. การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing media) โดยเฉพาะตำราเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งด้านเนื้อหาวิชาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะรูปเล่มและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของหนังสือจะเปลี่ยนไปเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของนักเรียน จนในที่สุดจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic books)
7. การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในและนอกประเทศจะมีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะระบบโลกาภิวัตน์ ทำให้หน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้ติดต่อใกล้ชิดกันอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายและด้วยความก้าวหน้าทาง IT (Information Technology)ก็ยิ่งช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลสะดวกรวดเร็วและมีประมาณมากขึ้นเป็นลำดับ
8. สื่อประเภทรายบุคคล (Individual media) เนื่องจากการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้นโอกาสที่ผู้เรียนจะเข้าชั้นเรียนจึงน้อยลง ทำให้ทุกคนต้องเรียนด้วยตนเองเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน ฉะนั้นสื่อประเภทนี้ จึงต้องมีความสมบูรณ์ในตัวที่ผู้เรียนสามารถศึกษาได้เอง ซึ่งสะดวกต่อการพกพาไปได้ มีขนาดกะทัดรัด ใช้ง่าย และจูงใจให้ใช้ อาจจะอยู่ในรูปหนังสือโปรแกรม เทปเสียงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และ
อื่น ๆ

สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1. การเรียนการสอนในระบบ
     การสอนในระบบ (formal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนสนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจนนักเรียน นักศึกษาต้องเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ โดยครูจะนำเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นเรียน ทำให้การเรียนการสอนในระบบเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

2. สภาพการเรียนการสอนนอกระบบ
.....การสอนนอกระบบ (informal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนนอกระบบ คือการเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย การเรียนการสอนประเภทนี้ ผู้สร้างหลักสูตรจำเป็นต้องคัดเลือกเทคโนโลยีการศึกษาที่เหมาะสมมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นสื่ออุปกรณ์ ซึ่งได้แก่ดาวเทียม โทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุเพื่อการศึกษา สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมต่าง ๆ ที่ครู หรือ ผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบ จะกำหนดขึ้น
3. สภาพการเรียนการสอนตามอัธยาศัย
.....การสอนตามอัธยาศัย (nonformal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้ เป็นหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต้องพยายามจัดโอกาสให้กับบุคคลเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีการศึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุนให้การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
.....1. ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น จากพระราชบัญญัติการศึกษา ปี พ.ศ. 2542 ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา ซึ่งแน่นอนการนำเทคโนโลยีการศึกษาย่อมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้ น่าจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตจะผูกติดกับพระราชบัญญัติการคึกษา และนับวันจะมีบทบาทยิ่งขึ้น ดังจะพบว่าพระราชบัญญัติการศึกษาให้ความสำคัญแก่เทคโนโลยีการศึกษา โดยกำหนดไว้ในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาระบุไว้ 7 มาตรา ดังนี้
.....2. เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย.แม้ว่าการสอนโดยอาศัยการออกอากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์จะเคยเป็นและยังคงเป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการจัดการศึกษา แต่ก็มีแนวโน้มว่าเราจะนำระบบวงจรปิดเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น ระบบวงจรปิด เช่น ไมโครเวฟ โทรทัศน์วงจรปิด และการใช้ดาวเทียมมีข้อได้เปรียบระบบวงจรเปิดที่สามารถถ่ายทอดทเรียนเป็นจำนวนมากได้พร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ยังได้เปรียบตรงที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจะทำให้เราสามารถส่งสัญญาณไปได้ทุกจุดบนพื้นโลกและเมื่อไปถึงจุดใดจุดหนึ่งแล้วก็สามารถส่งต่อไปตามสายเคเบิลหรือใช้ระบบไมโครเวฟไปยังห้องเรียนสถานที่อื่นๆ ในโรงเรียนหรือที่บ้าน หรือห้อง ประชุมในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้การรับสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมโดยตรงของทาง โรงเรียน วงการธุรกิจอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และสภาพการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ก็ด้วยเหตุที่เรามีเครื่องรับที่ดีและเหมาะสม จึงทำให้เราสามารถขจัดปัญหาเดิมที่ต้องส่งโดยใช้สายเคเบิล สัญญาณดาวเทียมสามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ซึ่งประกอบด้วยแผ่นไฟเบอร์ที่สามารถส่งสัญญาณของหลายรายการได้ในเวลาเดียวกัน
.....เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสั เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้โดยมีศูนย์คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ผลิตโปรแกรมทางการศึกษาซึ่งพร้อมที่จะให้บริการได้ตลอดเวลา หรืออาจเก็บบทเรียนไว้ในอุปกรณัไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้เมื่อต้องการ
.....ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เปิดโอกาสให้กับการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การประชุมทางไกล (Teleconferencing) หลังจากการทดลองใช้ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียทำให้เราทราบว่าเราสามารถนำเทคนิคการประชุมทางไกลมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีชีวิตชีวาโดยที่ครูไม่จำเป็นต้องเดินทางออกจากบ้านมาสอน ตัวอย่างเช่น ครูอาจบันทึกบทเรียนของเขาไว้ในวีดีโอเทปแล้วส่งสัญญาณภาพออกไปโดยใช้ระบบวงจรปิด หลังจากนั้นหรือขณะที่กำลังดูรายการโทรทัศน์อยู่นั้น ผู้สอนอาจพูดคุยกับผู้ดูโทรทัศน์ทางสายโทรศัพท์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการนี้โดยเฉพาะ
.....ความสนใจในระบบการประชุมทางไกลเกิดขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายและความไม่สะดวกในการเดินทางอันเป็นผลมาจากการขาดแคลนพลังงานในหลาย ๆ ประเทศ ตัวอย่าง การทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้คือศูนย์การสอนที่มีชื่อว่า The Center for Interactive Programs and Instructional Communication ของมหาวิทยาลัยวิสคอนชิน สหรัฐอเมริกา ศูนย์การสอนแห่งนี้ได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับการประชุมทางไกล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 แม้ว่าในหลายประเทศที่ไม่คาดฝันว่าจะมีปัญหาด้านการขาดแคลนพลังงานก็ตามต่างก็ได้ให้ความสนใจและจะนำเทคนิคการประชุมทางไกลหรือเทคนิคการสอนทางไกลอื่นๆ ที่คล้ายกันมาใช้ในเร็ววันนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารทางไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการสอนทางไกล ดังจะเห็นได้จากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาต่างๆ โดยใช้เทคนิคการสอนทางไกล
.....ในระยะยาวการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาใช้ในการสอนจะส่งผลอย่างมากต่อการบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการศึกษา นักการศึกษาและประชาชนทั่วไปได้คลาดการณ์ว่าในช่วงหลังของศตวรรษนี้โรงเรียนขนาดใหญ่จะเข้ามาแทนที่โรงเรียนขนาดเล็ก จึงจะเพิ่มโอกาสให้แก่นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนการสอนอย่างแท้จริง และช่วยให้การใช้บุคลากรที่มีอยู่เป็นไปอย่างคุ้มค่ารวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถขจัดอุปสรรคดังกล่าวได้ ทั้งในด้านการบริหารและค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนกลุ่มเล็กในโรงเรียนขนาดเล็กหลาย ๆ แห่ง ฝ่ายที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจทางการศึกษา มีความเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาจเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้โรงเรียนต้องหันมาสนใจในการที่จะนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
      3. เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของช่างไม้ที่ช่วยให้คนตาบอกหรือคนที่ตามองเห็นเพียงบางส่วนสามารถรู้ทางเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น อุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งสัญญาณเสียงที่มีลักษณะเสียงต่างๆ กัน สัญญาณแหล่านี้จะช่วยให้คนตาบอกรู้ทางเดินได้ สำนักงานการศึกษาพิเศษได้พัฒนาวิธีการและเครื่องมือใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจอย่างยิ่ง
.....เพื่อให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการฟังได้รับประโยชน์จากการดูโทรทัศน์โดยสมบูรณ์ ได้มีการพัฒนาเทคนิคบางประการ ตัวอย่างเช่น เพื่อให้ผู้ที่หูพิการเข้าใจคำบรรยายในรายการโทรทัศน์ ได้มีการพัฒนาเทคนิคชนิดหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า "Closed Captioning" คือเป็นการเพิ่มหัวข้อหรือคำบรรยายที่เป็นตัวอักษรเข้าไปในรายการโทรทัศน์ คำบรรยายจะถูกบันทึกลงในจานแม่เหล็กโดยสถาบันจัดทำคำบรรยายแห่งชาติ (The National Captioning Institute) จากแม่เหล็กที่ถูกบันทึกคำบรรยายแล้วจะถูกส่งไปยังสถานีต่างๆ ที่ขอใช้บริการนี้ สถานีจะแทรกคำบรรยายเหล่านี้เข้าไปในบรรทัดที่ 21 ของจอโทรทัศน์ ซึ่งเป็นบรรทัดที่ไม่รับสัญญาณภาพอย่างอื่นๆ คำบรรยายนี้จะถูกส่งออกอากาศพร้อม ๆ กับสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงปกติของสถานี เราจะเห็นคำบรรยายนี้ได้ก็ต่อเมื่อเราติดเครื่องถอดรหัส (Decoder Unit) ที่เสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือใช้เครื่องรับโทรทัศน์ที่มีเครื่องถอดรหัสอยู่ในตัวเครื่องแล้วเท่านั้น The Public Broadcasting System ซึ่งมีส่วนในการพัฒนาเทคนิค Closed Captioning ได้แพร่ภาพโดยการรวมคำบรรยายดังกล่าวเข้าไปด้วยวันละหลายชั่วโมง สถานีเครือข่ายเป็นต้นว่า ABC, CBS และ NBC ต่างออกอากาศโดยใช้เทคนิคดังกล่าวในหลายรายการ นอกจากเน้นการศึกษาเพื่อคนพิการ หรือคนด้อยโอกาสแล้ว การให้การศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีจะเน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล ซึ่งหมายถึง การให้โอกาสคนที่มีเวลาไม่ตรงกับคนอื่น สะดวกเวลาไหนก็เรียนเวลานั้น ไม่ต้องเรียนตรงกับเวลาของผู้อื่น การให้การศึกษาแบบนี้ต้องรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การใช้ Internet ชุดการสอน หรือ CAI (Computer- Assisted Instruction) นอกจากนั้นการให้การศึกษาแก่มวลชนคือคนจำนวนมาก ๆ หากคนจำนวนมาก ๆ อาจเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การใช้โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

e-learning ยุทธศาสน์การเรียนรู้ในอนาคต
การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning)
           ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อี-เลิร์นนิ่งแพร่ขยายเข้าไปถึงการศึกษาในระบบ การพัฒนาบุคลากรใน องค์การธุรกิจ รวมถึงการเรียนรู้ส่วนบุคคล แต่ สำหรับ ประเทศไทย การเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องใหม่มาก และยังไม่มี การนำไปใช้ประโยชน์มากนัก อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่โลก กำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัตน์ การ เปิด เสรีทาง เศรษฐกิจ และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย จึงมีความ จำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อี-เลิร์นนิ่งจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับ การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศเพื่อการแข่งขันในโลกยุคใหม่เนื่องด้วยเหตุผลที่จะกล่าวต่อไป
            การขยายโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนในการ จัดการศึกษาที่ต่ำกว่าการ ศึกษาในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าเงินทุนในช่วงแรก หรือต้นทุน คงที่ (fixed cost) ของการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างสูง แต่อี-เลิร์นนิ่งจะสามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้มากกว่าการจัดการ ศึกษาในห้องเรียน โดย ที่ผู้จัดการศึกษามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหน่วยสุดท้าย (marginal cost) เกือบเป็นศูนย์ แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากขึ้นก็ ตาม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบ ต้นทุนทั้งหมด (total cost) การจัดการเรียนรู้ ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีต้นทุนที่ ต่ำกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถ เรียนรู้ ได้ ทุกที่ ทุกเวลาและทุกคน (anywhere anytime anyone) และไม่ว่า จะทำการ ศึกษาณ สถานที่ใดการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะยังคงมีเนื้อหา เหมือนกัน และมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถวัดผลของการ เรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชน เพิ่มสูงขึ้น ส่ง ผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น
            การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเรียงตามลำดับหรือเป็นโปรแกรมแบบเส้นตรงแต่ผู้เรียนสามารถข้ามขั้นตอนที่ตนเองคิดว่าไม่จำเป็น หรือเรียงลำดับการเรียนรู้ของตนเองได้ตามใจปรารถนาการเรียนรู้ตามศักยภาพและ ความสนใจของผู้เรียน ทำให้ ประชาชนใน ประเทศเกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นใน การแข่งขันในเศรษฐกิจบนฐานความ รู้ (knowledge-based economy) ในอนาคต การที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่รวมความรู้ จำนวน มหาศาล ผู้เรียนจึงมีช่องทางและวิธีการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย
            ผู้เรียน สามารถเลือกสื่อการเรียนการสอนได้ตามความถนัดและความสนใจทั้งในรูปแบบของตัวอักษรรูปภาพภาพสร้างสรรค์จำลอง (animations)สถานการณ์ จำลอง (simulations)เสียงและภาพเคลื่อนไหว (audio and video sequences) กลุ่ม อภิปราย (peer and expert discussion groups) และการปรึกษาออ นไลน์ (online mentoring) ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 มากกว่าการเรียนรู้โดย การฟัง การบรรยายในห้องเรียน หรือจากการอ่านหนังสือ และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นถึงร้อยละ 60 ของการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ทั้งนี้ ประสิทธิภาพและความรวดเร็วของการเรียนรู้มีความสำคัญมากสำหรับการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต เพราะจะทำให้คน องค์การ และ ประเทศ สามารถปรับตัวและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาและทำให้เกิดความรวดเร็วในการช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจรวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนาทักษะของแรงงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการสร้างความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง
          
  อี-เลิร์นนิ่ง
ไม่ได้เป็นเพียงการ เรียนโดยการรับความรู้หรือเรียนรู้อะไรเท่านั้น แต่เป็นการเรียน "วิธี การเรียนรู้" หรือเรียนอย่างไร ผู้เรียนในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากอี-เลิร์นนิ่งไม่มีผู้สอนที่คอยป้อนความรู้ให้เหมือนกับการศึกษาในห้องเรียน ดังนั้น ผู้เรียนจึงได้รับการฝึกฝนทักษะในการค้นหาข้อมูลการเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือก วิธีการเรียนรู้และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้การที่คนมีความสามารถในการเรียนรู้ จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ซึ่งหากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นส่วนใหญ่จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ ของคนไทยและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความสามารถในการคิด
            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทางความคิดมากกว่าการฟังการบรรยายในห้องเรียน เนื่องจากเป็นการสื่อสารแบบสองทางและมีรูปแบบของการเรียนรู้ที่หลากหลาย การศึกษาทางไกล (distance learning) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะกระตุ้นและเอื้อให้เกิดการวิพากษ์อย่างมีเหตุผล (critical reasoning) มากกว่าการศึกษาในห้องเรียนแบบเดิม เพราะมีการปฏิสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองนอกจากนี้การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่านักศึกษาทางไกลระบบออนไลน์ (online students) ได้มีการติดต่อกับผู้เรียนคนอื่นๆในชั้นเรียนมากกว่าเรียนรู้ด้วยความสนุกมากกว่า ให้เวลา ในการทำงานในชั้นเรียนมากกว่ามีความเข้าใจสื่อการสอนและการปฏิบัติมากกว่า ผู้เรียนที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนแบบเดิมโดยเฉลี่ยร้อยละ 20 อี-เลิร์ นนิ่งทำให้ เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล และความรู้จำนวนมาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการต่อยอดความรู้หรือทำให้เกิดความคิด ใหม่ๆ และ การสร้างนวัตกรรมอันเป็นปัจจัยในการแข่งขันที่สำคัญมากที่สุดในการแข่งขันในเศรษฐกิจยุคใหม่
           การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นช่องทางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่รัฐบาลและองค์การต่างๆไม่ ควรมอง ข้าม เนื่องจากประสิทธิภาพ ในการพัฒนาการเรียนรู้ และความเหมาะสมกับโลกยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอี-เลิร์นนิ่งในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดมากไม่ว่าจะเป็นความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศความไม่เพียงพอของฮาร์ดแวร์ (hardware)การขาดแคลนซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและขาดเนื้อหาที่หลากหลายและความไม่พร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้เรียนรวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่นๆที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น กฎหมาย และวัฒนธรรมการเรียนรู้ในสังคมเป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเริ่มต้นการพัฒนาการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันนี้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมแล้วคงไม่สายเกินไปที่คนไทยจะได้รับการพัฒนาทันกับพัฒนาการของโลก ในอนาคต
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความหมาย
       เพื่อที่จะให้เข้าใจความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา เราคงจะต้องทำความเข้าใจกับคำต่างๆ ที่ประกอบเป็นคำนี้ อันได้แก่ เทคโนโลยี สาร และสนเทศ
       เทคโนโลยีมีความหมายถึง การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต่องานปฏิบัติทั้งหลาย เพื่อให้งานนั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
       สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศสาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
       สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
       สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information
       สำหรับคำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน ดังนี้
       สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า
       สารสนเทศ คือข้อมูลที่ได้รับการประมวลให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายต่อผู้รับ และมีทั้งคุณค่าอันแท้จริง หรือที่คาดการณ์ว่าจะมีสำหรับการดำเนินงานหรือการตัดสินใจในปัจจุบันและอนาคต
       สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบมาคำนวณทางสถิติ   หรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
       หากพิจารณาจากความหมายของสารสนเทศที่กล่าวมาแล้วนี้ จะเห็นว่าสารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคมนาคม
       เทคโนโลยีสารสนเทศตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
       เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
       เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร


ความสำคัญ 
       ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข  สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง
               รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง "คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ" ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ
            
            เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การที่นักเรียนได้ช้าสามารถใช้เวลาเพิ่มเติมกับบทเรียนด้วยสื่อซีดี-รอม  เพื่อตามให้ทันเพื่อนนักเรียน ในขณะที่นักเรียนที่รับข้อมูลได้ปกติสามารถเพิ่มศักยภาพในการ เรียนรู้ด้วยตนเอง  (independent learning) ได้มากขึ้นจากความหลากหลายของเนื้อหาในสื่ออิเล็กทรอนิกส์  นอกจากนี้ผลจากเทคโนโลยีสานสนเทศยังก่อให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ ๆ เช่น วิธีการ “Constructionism”  ของศาสตราจารย์ Seymour Papert  ที่ใช้หลักการที่ว่าการเรียนรู้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเด็กๆ มีความใส่ใจ (engagement) กับการสร้างสิ่งที่มีความหมาย อันเป็นที่มาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ LEGO Logo ซึ่งผสมผสานความน่าสนใจ ในของเด็กเล่นกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส่งเสริมให้เด็กสร้าง (build) และควบคุม (control) สิ่งก่อสร้างนั้นซึ่งเป็นผลให้เกิด ความรู้ในตัวของเด็กได้ทั้งนี้โดยการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่คำนึงถึงโอกาสของเด็กในการเลือก (choice) ความหลากหลาย (diversity) และความเป็นมิตร (congeniality) นอกจากนี้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับท้องถิ่นหรือระดับโลกอย่างระบบ World Wide Web ในอินเทอร์เน็ตยังเปิดโอกาสในนักเรียน นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณภาพของการเรียนรู้จากฐานข้อมูลที่หลากหลายและกว้างขวางที่ระบบฐานข้อมูลหรือห้องสมุดเดิมไม่สามารถรองรับได้

แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
                1.  ให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น
จากพระราชบัญญัติการศึกษา ปี พ.ศ. 2542 ที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายให้ความสำคัญแก่การจัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเน้นการศึกษารายบุคคล มวลชน และผู้ด้อยโอกาสทั้งหลาย พระราชบัญญัติการศึกษาจะเป็นผู้ชี้อนาคตในการจัดการศึกษา ซึ่งแน่นอนการนำเทคโนโลยีการศึกษาย่อมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเลี่ยงไม่ได้ น่าจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตจะผูกติดกับพระราชบัญญัติการคึกษา และนับวันจะมีบทบาทยิ่งขึ้น
                2.  เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
แม้ว่าการสอนโดยอาศัยการออกอากาศทางวิทยุหรือโทรทัศน์จะเคยเป็นและยังคงเป็นแรงสนับสนุนสำคัญในการจัดการศึกษา แต่ก็มีแนวโน้มว่าเราจะนำระบบวงจรปิดเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น ระบบวงจรปิด เช่น ไมโครเวฟ โทรทัศน์วงจรปิด และการใช้ดาวเทียมมีข้อได้เปรียบระบบวงจรเปิดที่สามารถถ่ายทอดบทเรียนเป็นจำนวนมากได้พร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ยังได้เปรียบตรงที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสถานที่ตัวอย่างเช่น การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมจะทำให้เราสามารถส่งสัญญาณไปได้ทุกจุดบนพื้นโลกและเมื่อไปถึงจุดใดจุดหนึ่งแล้วก็สามารถส่งต่อไปตามสายเคเบิลหรือใช้ระบบไมโครเวฟไปยังห้องเรียนสถานที่อื่นๆ ในโรงเรียนหรือที่บ้าน หรือห้อง ประชุมในโรงแรม เป็นต้น นอกจากนี้การรับสัญญาณโทรทัศน์จากดาวเทียมโดยตรงของทาง โรงเรียน วงการธุรกิจอุตสาหกรรม โรงพยาบาล และสภาพการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาได้ก็ด้วยเหตุที่เรามีเครื่องรับที่ดีและเหมาะสม จึงทำให้เราสามารถขจัดปัญหาเดิมที่ต้องส่งโดยใช้สายเคเบิล สัญญาณดาวเทียมสามารถส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ซึ่งประกอบด้วยแผ่นไฟเบอร์ที่สามารถส่งสัญญาณของหลายรายการได้ในเวลาเดียวกัน
                เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นอีกมิติหนึ่งของการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากสมรรถภาพทางการสอนของคอมพิวเตอร์ที่เราพบเห็นในปัจจุบันทำให้คาดการณ์ได้ว่าในอนาคตจะมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งนี้โดยมีศูนย์คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ผลิตโปรแกรมทางการศึกษาซึ่งพร้อมที่จะให้บริการได้ตลอดเวลา หรืออาจเก็บบทเรียนไว้ในอุปกรณ์ไมโครคอมพิวเตอร์ซึ่งพร้อมที่จะนำมาในได้เมื่อต้องการ
                ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์เปิดโอกาสให้กับการนำเทคนิคใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การประชุมทางไกล (Teleconferencing) หลังจากการทดลองใช้ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียทำให้เราทราบว่าเราสามารถนำเทคนิคการประชุมทางไกลมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีชีวิตชีวาโดยที่ครูไม่จำเป็นต้องเดินทางออกจากบ้านมาสอน ตัวอย่างเช่น ครูอาจบันทึกบทเรียนของเขาไว้ในวีดีโอเทปแล้วส่งสัญญาณภาพออกไปโดยใช้ระบบวงจรปิด หลังจากนั้นหรือขณะที่กำลังดูรายการโทรทัศน์อยู่นั้น ผู้สอนอาจพูดคุยกับผู้ดูโทรทัศน์ทางสายโทรศัพท์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการนี้โดยเฉพาะ
                ความสนใจในระบบการประชุมทางไกลเกิดขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายและความไม่สะดวกในการเดินทางอันเป็นผลมาจากการขาดแคลนพลังงานในหลาย ๆ ประเทศ ตัวอย่าง การทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้คือศูนย์การสอนที่มีชื่อว่า The Center for Interactive Programs and Instructional Communication ของมหาวิทยาลัยวิสคอนชิน สหรัฐอเมริกา ศูนย์การสอนแห่งนี้ได้จัดการสัมมนาเกี่ยวกับการประชุมทางไกล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 แม้ว่าในหลายประเทศที่ไม่คาดฝันว่าจะมีปัญหาด้านการขาดแคลนพลังงานก็ตามต่างก็ได้ให้ความสนใจและจะนำเทคนิคการประชุมทางไกลหรือเทคนิคการสอนทางไกลอื่นๆ ที่คล้ายกันมาใช้ในเร็ววันนี้ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญต่อการสื่อสารทางไกลโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการสอนทางไกล ดังจะเห็นได้จากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาต่างๆ โดยใช้เทคนิคการสอนทางไกล
                ในระยะยาวการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำมาใช้ในการสอนจะส่งผลอย่างมากต่อการบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดการศึกษา นักการศึกษาและประชาชนทั่วไปได้คลาดการณ์ว่าในช่วงหลังของศตวรรษนี้โรงเรียนขนาดใหญ่จะเข้ามาแทนที่โรงเรียนขนาดเล็ก จึงจะเพิ่มโอกาสให้แก่นักเรียนได้เข้าถึงการเรียนการสอนอย่างแท้จริง และช่วยให้การใช้บุคลากรที่มีอยู่เป็นไปอย่างคุ้มค่ารวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาด้วย อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถขจัดอุปสรรคดังกล่าวได้ ทั้งในด้านการบริหารและค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนกลุ่มเล็กในโรงเรียนขนาดเล็กหลาย ๆ แห่ง ฝ่ายที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจทางการศึกษา มีความเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอาจเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้โรงเรียนต้องหันมาสนใจในการที่จะนำเอาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
                3.  เน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
                ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานการศึกษาพิเศษ กระทรวงศึกษาธิการ สหรัฐอเมริกา ได้มีงานวิจัยหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ งานวิจัยเหล่านั้นมุ่งไปที่การพัฒนาวิธีการเรียนการสอนที่จะช่วยให้คนพิการเอาชนะข้อจำกัดทางด้านร่างกายและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัส ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของช่างไม้ที่ช่วยให้คนตาบอกหรือคนที่ตามองเห็นเพียงบางส่วนสามารถรู้ทางเดินได้โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่น อุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งสัญญาณเสียงที่มีลักษณะเสียงต่างๆ กัน สัญญาณแหล่านี้จะช่วยให้คนตาบอกรู้ทางเดินได้ สำนักงานการศึกษาพิเศษได้พัฒนาวิธีการและเครื่องมือใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการให้สามารถเรียนรู้ข่าวสารและทักษะใหม่ๆ เพิ่มขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรได้รับความสนใจอย่างยิ่ง

สรุป
แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต
1.       สถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน  จะแบ่งเป็น
การสอนในระบบ (formal education)  หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วน
สนับสนุนการเรียนการสอนในระบบ ในชั้นเรียนที่มีหลักสูตรเฉพาะ มีกรอบการเรียนที่ชัดเจนนักเรียน
                        การสอนนอกระบบ (informal education)  หมายถึง การเรียนการสอนที่มีหลักสูตรเฉพาะกลุ่ม หรือหลักสูตรที่มีกรอบการเรียนค่อนข้างกว้างขวาง โดยไม่กำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและโอกาสของผู้เรียนที่จะอำนวย
                  การสอนตามอัธยาศัย (nonformal education) หมายถึง การที่เทคโนโลยีการศึกษามีส่วนช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนตามอัธยาศัย เป็นการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความจำกัดบางอย่าง แต่บางครั้งมีความต้องการได้รับความรู้                
2.  แนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต จะเน้น 3 เรื่องใหญ่ คือ เน้นในความสำคัญกับการเรียนการสอนนอกระบบมากขึ้น เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นเรื่องการศึกษาเป็นรายบุคคล การศึกษาเพื่อมวลชน และการศึกษาเพื่อคนด้อยโอกาส
      
 เทคโนโลยีสารสนเทศ
สามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ดังนี้ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล
             
  เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
      เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
              
  e-Learning คืออะไร ::
          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ประโยชน์ของ e-Learning ::
ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
       การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่เข้าถึงได้ง่าย        

      ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย

     ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการ
ปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว

    ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม

จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น